วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ชีวะประวัติของท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)








เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)

   ชาติกำเนิด
          เป็นบุตรคนที่สี่ของเจ้าพระยาอภัยราชา(ปิ่น)กับท่านผู้หญิงฟัก บรรพบุรุษของท่านเป็นพราหมณ์ชื่อสิริวัฒนะรับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชตำแหน่งราชปุโรหิตบิดาของท่านเป็นข้าหลวงเดิมในสมัยพระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและเป็นสมเด็จเจ้าพระยาวังหน้าในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัยเกิดวันพุธเดือนยี่แรมห้าค่ำปีมะแม พ.ศ.๒๓๑๘ตรงกับวันที่๑๑มกราคม ๒๓๑๘ ที่บ้านริมคลองรอบกรุงธนบุรีด้านตะวันออกซึ่งปัจจุบันเป็นเขตกรุงเทพมหา นคร(คือบริเวณสะพานข้างโรงสีหน้ากระทรวงมหาดไทย)

  การศึกษา
         ได้รับการศึกษาตามแบบบุตรหลานขุนนางซึ่งสันนิษฐานว่าศึกษาอักขรสมัยใน สำนักพระวันรัตน์(ทองอยู่)  วัดบางหว้าใหญ่เช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยบุคลิกลักษณะ ท่านเป็นผู้เข้มแข็ง เฉียบขาด อดทนเฉลียวฉลาดมีไหวพริบซื่อสัตย์จงรักภักดีมีความละเอียดรอบคอบและเข้าใจ บุคคลอื่นรู้เท่าทันเหตุการณ์ รับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๑ โดยบิดาได้นำขึ้นถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นจมื่นเสมอใจราชในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระพรหมสุรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจขวาเมื่อกลับจากรับราชการที่เมืองเขมรได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาราชโยธา และต่อมาได้เป็นพระยาเกษตรรักษา ว่าการกรมนา ฝ่ายพระราชวังบวร ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์โดยลำดับจาก พระยาราชสุภาวดี เป็น เจ้าพระยาราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก และเป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชาสมุหนายก ในขณะที่ท่านมีอายุ ๕๓ ปี

   ผลงาน
        ในฐานะแม่ทัพ ท่านสามารถนำทัพออกรบจนประสบผลสำเร็จ ดังเหตุการณ์ต่อไปนี้
1.ปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๓๗๒
2.สงครามระหว่างไทยกับญวน พ.ศ. ๒๓๗๖-๒๓๙๐
3.ปราบการจลาจลในเขมร พ.ศ. ๒๓๗๖-๒๓๙๒
ในด้านการทูตและการเมือง
        ท่านมีความสามารถในการเจรจาโต้ตอบเชิงการทูต ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ในการทำสงครามเพราะจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยไม่ต้องใช้กำลังเช่นการเจรจาปล่อยญวนที่เมืองโพธิสัตว์เจรจาปัญหาญวนเกลี้ย กล่อมเขมรและการแต่งตั้งพระองค์ด้วงไปปกครองเขมร

  ในด้านเศรษฐกิจ
       ท่านสามารถแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจแตกสลายของเขมรในช่วงการทำสงคราม ติดต่อกันถึง๑๔ปี  โดยการหาเสบียงอาหารให้เพื่อบรรเทา ความขาดแคลนส่งเสริมและสนับสนุนให้ราษฎรทำนาไม่ได้ผลก็กราบบังคมทูลพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งพระองค์ก็จะโปรดยกเว้นไม่เก็บค่านาแม้แต่ การจัดหาตุ่มใส่น้ำให้เขมรที่เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ท่านก็ยังเอาใจใส่ไม่ละเลย

  ในด้านรักษาความสงบเรียบร้อย
      ท่านได้รับมอบหมายจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทำการ ดูแลเมืองเขมรซ่อมแซมป้อมค่ายเมืองพระตะบอง สำหรับใช้เป็นฐานกำลังของไทยที่จะคุมเชิงและควบคุมเขมรในความสนับสนุนของ พระองค์ด้วง กษัตริย์ของเขมรโดยเอาใจใส่ตรวจตราดูแลความมั่นคงและปลอดภัยให้และจัดการ สร้างเมืองอุดงมีชัยมีการขุดคูเมืองเชิงเทินสร้างป้อมค่าย ให้แข็งแรง ท่านนำนโยบายห้ามสูบฝิ่นซื้อขายฝิ่นไปใช้ในเขมรอันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาโจร ผู้ร้ายท่านจะกวดขันห้ามปรามเมื่อจับจะทำโทษอย่างหนัก ไม่เว้นแม้แต่บุตรของท่าน

 ในด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
      ท่านสืบทอดพระพุทธศาสนาหลายอย่าง
                                                                             
                                                                                                         
ที่มาhttps://www.bodin.ac.th